top of page

ประวัติการพิมพ์

     จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฎอยู่บนผนังถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฎผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ ในช่วงประมาณ 17,000 - 12,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว ยังปรากฎผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้ นอกจากนั้น ยังปรากฎการเริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stensil) อีกด้วย โดยวิธีการใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฎเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนักว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่ง

     ในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล (5,000 B.C.)

     ประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ในภูมิภาคแถบเอเชียตอนกลางและจีน ได้รู้จักการแกะสลักดวงตราบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์และงาช้าง เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว บนขี้ผึ้งซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์ Letter Press โดยจะเห็นได้จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิจะมีตราหยกเป็นตราประจำแผ่นดิน

     ค.ศ.105 ชาวจีนชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมา

     ค.ศ.175 ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู (Rubbing) ขึ้นในประเทศจีน โดยมีการแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำกระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ถ่านหรือสีทาลงบนกระกาษ สีก็ติดบนกระดาษส่วนที่หินนูนขึ้นมา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลักบนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ในทุกวันนี้ (กำธร สถิรกุล. 2515 : 185)

     ค.ศ.400 ชาวจีนรู้จักการทำหมึกแท่งขึ้น โดยใช้เขม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pigment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์และเขาสัตว์เป็นตัวยึด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง ชาวจีนเรียกว่า "บั๊ก" ต่อมาราวปี ค.ศ.450 การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึกแล้วตีลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน (วัลลภ สวัสดิวัลลภ.2527: 82)

     สำหรับชิ้นงานพิมพ์ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและยังคงหลงเหลืออยู่ได้แก่การพิมพ์โดยจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotodu) แห่งประเทศญี่ปุ่น ในราว ค.ศ.770 โดยพระองค์รับสั่งให้จัดพิมพ์คำสวดปัดรังควานขับไล่วิญญาณหรือผีร้ายให้พ้นจากประเทศญี่ปุ่น และแจกจ่ายไปตามวัดทั่วอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นจำนวนหนึ่งล้านแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาตีพิมพ์เป็นเวลาถึง 6 ปี (สนั่น ปัทมะทิน. 2513 : 121)

     จีนนิยมใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะไม้ และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ในปี ค.ศ.868 ได้มีการพิมพ์เป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกมีลักษณะเป็นม้วน มีความยาว 17.5 ฟุต กว้าง 10.5 นิ้ว โดยวาง เซียะ (Wang Chieh) ซึ่งยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า วัชรสูตร (Diamond Sutra) (กำธร สถิรกุล. 2515 : 187)

     ประมาณปี ค.ศ.1041 - 1049 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์นูนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมที่ใช้การแกะไม้เป็นแม่พิมพ์ (เรียกว่า Block) แม่พิมพ์ดังกล่าวสามารถพิมพ์ได้เพียงรูปแบบเดียวมาเป็นการใช้แม่พิมพ์ชนิดที่หล่อขึ้นเป็นตัว ๆ และนำมาเรียงให้เป็นคำเป็นประโยค ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ตัวเรียงพิมพ์ (Movable type) เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว จะสามารถนำกลับไปเก็บและสามารถนำมาผสมคำใหม่ในการพิมพ์ครั้งต่อ ๆ ไปได้ ผู้ที่ค้นพบวิธีการใหม่นี้เป็นชาวจีนชื่อ ไป เช็ง (Pi Sheng) โดยใช้ดินเหนียวปั้นให้แห้งแล้วนำไปเผาไฟ

     การสร้างตัวเรียงพิมพ์โลหะ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเกาหลีเมื่อประมาณปี ค.ศ.1241 ได้มีการหล่อตัวพิมพ์โลหะขึ้นเป็นจำนวนมากตามดำริของกษัตริย์ไทจง (Htai Tjong) (Lechene. 1974 : 1053)

การพิมพ์ของประเทศทางตะวันตก

     ผู้ที่คิดค้นวิธีพิมพ์อย่างเป็นระบบเป็นคนแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของการพิมพ์คือ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) เพราะเขาได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ พัฒนาแม่แบบสำหรับหล่อตัวพิมพ์โลหะเป็นตัว ๆ สามารถที่จะเรียงเป็นคำ เป็นประโยคและเมื่อใช้พิมพ์ไปแล้วก็สามารถนำกลับมาเรียงใหม่ เพื่อใช้หมุนเวียนได้อีก ซึ่งเรียกว่าเป็นวิธี Movable ตลอดจนการค้นคิดวิธีการทำหมึกที่ได้ผลดีสำหรับใช้กับตัวเรียงโลหะ ผลงานอันมีชื่อเสียงของกูเต็นเบิร์กคือ คัมภีร์ 42 บรรทัด (42-Lines Bible) เมื่อปี ค.ศ.1455 นั่นเอง (วัลลภ สวัสดิวัลลภ. 2527 : 86)

     ค.ศ.1495 Albrecht Durer ศิลปินแกะไม้ชาวเยอรมัน ซึ่งเคยเป็นจิตรกรช่างเขียนภาพได้คิดวิธีพิมพ์จากแม่พิมพ์ทองแดง (Copper plate engraving) โดยการใช้ของแหลมขูดขีดให้เป็นรูปรอยบนแผ่นทองแดง และใช้พิมพ์แบบ Gravure เป็นครั้งแรกในเยอรมัน (กำธร สถิรกุล. 189)

     ต่อมีในปี ค.ศ.1793 ชาวเยอรมันชื่อ Alois Senefilder ได้ค้นพบวิธีการพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์แบบพื้นราบ (Planographic printing) ขึ้นเป็นครั้งแรก

     ค.ศ.1904 Ira Washington Rubel ช่างพิมพ์ชาวอเมริกันได้สังเกตเห็นว่า ในการป้อนกระดาษเข้าพิมพ์โดยแท่น Cylinder press บางครั้งลืมป้อนกระดาษเข้าไป หมึกจะพิมพ์ติดบนลูกกลิ้งแรงกด และเมื่อป้อนกระดาษแผ่นถัดไปหมึกบนตัวพิมพ์จะติดบนกระดาษหน้าหนึ่ง แต่หมึกบนลูกกลิ้งจะติดกระดาษอีกหน้าหนึ่ง เมื่อสังเกตดูแล้วพบว่า หมึกที่ติดบนลูกกลิ้งก่อนที่จะติดบนกระดาษนั้นจะมีลักษณะสวยงามกว่าหมึกที่พิมพ์จากตัวพิมพ์ไปติดกระดาษโดยตรง จึงได้คิดวิธีพิมพ์ระบบ Off set printing ขึ้น

     ค.ศ.1907 Samuel Simon แห่งเมือง Manchester ได้ปรับปรุงการพิมพ์ระบบ Silk screen และจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่ประเทศอังกฤษ

ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย



     ในปีพ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา โดยมิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาสอนศาสนาในสมัยนั้น จากจำนวนบาทหลวงที่เข้ามายังประเทศไทย มีสังฆราชองค์หนึ่งชื่อ ลาโน(Mgr Laneau) ได้ริเริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น นัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ตามวิธีฝรั่งของสังฆราชลาโนถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก (อำไพ จันทร์จิระ. 2512 : 73 - 74) และต่อมาภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยามกิจการพิมพ์ในสมัยอยุธยาจึงหยุดชะงักและไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่

     ในสมัยพระเจ้าตากสิน เมื่อบ้านเมืองปกติแล้ว บาทหลวงคาทอลิกชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนา จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปีค.ศ.1796 (พ.ศ.2339) ซึ่งคาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และสันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์คงใช้วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะ

     พ.ศ.2536 (ค.ศ.1813) ได้มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีอเมริกัน และเข้ามาดำเนินกิจการทางศาสนาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลยชาวไทยในพม่าและได้ดำเนินการหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำไปยังเมืองกัลกัตตา และมีผู้ซื้อต่อโดยนำมาไว้ที่สิงคโปร์ นักบวชอเมริกันได้ซื้อตัวพิมพ์ และแท่นพิมพ์ดังกล่าวแล้วนำเข้าสู่เมืองไทยอีกทีหนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commisioner for Foreign Missions (กำธร สถิรกุล. 2515 : 198)

     พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain James Low) รับราชการอยู่กับรัฐบาลอินเดีย มาทำงานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ไทยขึ้น และได้จัดพิพม์หนังสือไวยากรณ์ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า "A Grammar of the Thai) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมีเหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหาได้ในปัจจุบัน



ข้อมูลโดย

อ.ณัฐญา นาคะสันต์
มหาวิทยาลัยเกริก

ประวัติการพิมพ์  Offset

ความรู้ หลักในการพิมพ์ offset
ความรู้ ประวัติการ พิมพ์ offset
ความรู้ ขนาดของเครื่องพิมพ์ offset
ความรู้ การพิมพ์ Offset ชนิดแผ่น
ความรู้ การพิมพ์ Offset ชนิดม้วน
ความรู้ การควบคุมงานพิมพ์ Offset
ความรู้ สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับ offset
ความรู้ การใช้ภาพประกอบ
ความรู้ ขนาดกระดาษ
ความรู้ โหมดสี (Color Mode)
ความรู้ ประเภทของไฟล์
ความรู้ กว่าจะเป็นหนังสือ 1 เล่ม
ความรู้ กระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์
ความรู้ การพิมพ์ระบบดิจิตอล
ความรู้ เครื่องพิมพ์สกรีน
ความรู้ แม่พิมพ์สกรีนแบบหนา
ความรู้ หมึกพิมพ์สีระเหิด
ความรู้ การเคลือบ ยู.วี.
ความรู้ กระดาษถนอมสายตา
ความรู้ ประเภทของการพิมพ์
ความรู้ ไวนิล คืออะไร
ความรู้ ความต่างแผ่นปั๊มกับแผ่นไรท์

ความรู้เกี่ยวกับงานพิมพ์

ความรู้ การออกแบบสิ่ง พิมพ์
ความรู้ หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ความรู้ ป้าย สิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจ
ความรู้ กระบวนการผลิตกระดาษ
ความรู้ กระดาษมีความสำคัญอย่างไร
ความรู้ พื้นฐานเกี่ยวการพิมพ์
ความรู้ การพิมพ์ในประเทศไทย
ความรู้ เทคนิคเกี่ยวกับการผลิตสิ่งพิมพ์
ความรู้ การใช้สีกับสื่อสิ่งพิมพ์
การออกแบบสิ่งพิมพ์เบื้องต้น
ความรู้ การออกแบบหนังสือพิมพ์
ความรู้ การออกแบบนิตยสาร
ความรู้ การออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์
ความรู้ ข้อคิดในการออกแบบสิ่งพิมพ์
ความรู้ เทคนิคการติดสติกเกอร์
เทคนิคการติดสติกเกอร์รถยนต์
เทคนิคการติดสติกเกอร์ลงบนกระจก
การสร้างนามบัตรอย่างง่าย
การปรับแต่งรอยมาร์ค
ความรู้ การตรวจสอบไฟล์งาน
ระบบการพิมพ์ตราไปรษณียากร

ความรู้ โครงสร้างของแผ่น CD – ROM
ความรู้ การผลิตแผ่นซีดี
ความรู้ การอ่านข้อมูลบนแผ่นซีดีรอม
ความรู้ การเข้าถึงข้อมูลแผ่นซีดี
ความรู้ การเก็บข้อมูลในแผ่นซีดีี
ความรู้ การจัดPatternของแผ่น CD
ความรู้ มาตรฐานแผ่น CD
ความรู้ เครื่องพิมพ์ INKJET
ความรู้ จั่วปังคืออะไร
ความรู้ องค์ประกอบของกระดาษ
ความรู้ การผลิตกระดาษ
ความรู้ PDF/X-4
10 ปัญหาของไฟล์ต้นฉบับ PDF
ความรู้ เลือกวัสดุพิมพ์อย่างไร
ความรู้ การสร้างไฟล์ PDF/X ไฟล์
ของตีพิมพ์ คืออะไร
การทำให้ราคาค่าพิมพ์ต่ำลง
ความรู้ ขนาดงานพิมพ์ที่เหมาะสม
ความรู้ การนับสี การเข้าเล่ม
ความรู้ คำศัพท์ทางการพิมพ์
ความรู้ กล่องบรรจุภัณฑ์
ความรู้ การเตรียมไฟล์งานพิมพ์

โรงพิมพ์ สยามครีเอทีฟ 108 เราคือโรงพิมพ์ผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ทุกชนิดทุกประเภท งานเร่ง งานด่วน พิมพ์จำนวนน้อยหรือมาก!


              บริการพิมพ์งานคุณภาพมาตรฐานด้วยประสบการณ์ในธุรกิจโรงพิมพ์มายาวนาน รับพิมพ์ทั้งงานเล็ก/งานใหญ่ พิมพ์สีเดียว พิมพ์สี่สี พิมพ์สอดสี หรือพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบดิจิตอล ซิ้วค์สกรีน ฯลฯ ราคายุติธรรม ส่งมอบงานพิมพ์ตรงเวลา รับให้คำปรึกษาด้านออกแบบ/งานพิมพ์



บริการงานพิมพ์ของโรงพิมพ์สยามครีเอทีฟ 108  :

SiamCreative108 Print & Design (Thailand)
bottom of page